วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การมอดูเลตแบบดิจิตอล









PAM & PCM


PAM ( Pulse Amplitude Modulation )
   จะเกิดจากการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) สัญญาณ Analog ตามช่วงเวลาที่เท่าๆกันและใช้ตัวอย่างเหล่านี้แทนสัญญาณ Analog

การโมดูเลตทางแอมปลิจูดของพัลส์ (PAM)

โดยอาศัยหลักการแซมปิง หรือ การชักตัวอย่าง (Sampling) ของสัญญาณที่เป็นอนาล็อก (ต่อเนื่อง) ตามช่วงเวลาให้สัญญาณนั้นขาดจากกันเป็นพัลส์ๆ โดยขนาดของแต่ละพัลส์จะเท่ากับขนาดของสัญญาณเดิมในช่วงเวลานั้นๆ ทางทฤษฎีการแซมปิงจะทำด้วยอัตราสองเท่าของแบนด์วิธของสัญญาณอนาล็อกเป็นจำนวนครั้งต่อวินาที (อัตราแซมปิง = 2 BW เฮิรตซ์) ยิ่งถ้าซิมปิงสัญญาณด้วยอัตราน้อยเท่าไร เราก็จะได้สัญญาณพัลส์ที่ใกล้เคียงกับสัญญาณเดิมมากที่สุด แต่ถ้าอัตราน้อยเกินไปสัญญาณก็จะกลับไปเป็นสัญญาณอนาล็อกเหมือนเดิม

การโมดูเลตแบบรหัสพัลส์ (PCM)

เนื่องจากขนาดของพัลส์ใน PAM ยังคงเป็นแบบต่อเนื่องการส่งสัญญาณแบบ PAM จึงไม่ได้ต่างอะไรกับการส่งสัญญาณอนาล็อกเลย ดังนั้นในวิธีการส่งแบบ PCM จึงมีขั้นตอนในการทำให้ขนาดของสัญญาณของข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อเนื่องก่อน ด้วยวิธีที่เรียกว่า การควอนไทซ์ (Quantize) ขั้นตอนการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยวิธี PCM
————————————————————————————
PCM ( Pulse Code Modulation)
     เป็นแบบแผนดิจิตอลสำหรับการส่งข้อมูลอะนาล็อก สัญญาณเป็น PCM เป็น binary ซึ่งมี 2 สถานะ แสดงด้วย logic 1 (สูง) และ logic 0 (ต่ำ) ความจริง คือ ไม่มีความซับซ้อนที่เกิดกับ รูปแบบคลื่นอะนาล็อก การใช้ PCM ทำให้สามารถแปลงเป็นดิจิตอล จากรูปแบบทั้งหมดของข้อมูลอะนาล็อก รวมถึงภาพเคลื่อนไหว, เสียง, เพลง สิ่งเสมือนจริง การส่งเข้า PCM จากรูปแบบคลื่นอะนาล็อกที่ต้นทาง (ปลายด้านส่ง) ของวงจรการสื่อสาร ความสูงของสัญญาณอะนาล็อก จะได้รับการวัด (sample) ภายในช่วงเวลา อัตรา sampling หรือ จำนวน sample ต่อวินาที เป็นเวลาหลายครั้งที่ความถี่สูงสุด ของรูปแบบคลื่นอะนาล็อกในรอบวินาที หรือเฮิร์ทซ ความสูงของสัญญาณอะนาล็อกมีแต่การ sample จะปรับเป็นค่าใกล้ที่สุด ของการระบุหลายระดับ กระบวนการนี้เรียกว่า quantization จำนวนของระดับจะเป็น เลขยกกำลังของ 2 เช่น 2, 16, 32 หรือ 64 จำนวนเหล่านี้สามารถแทนด้วย binary digit (บิต) 3, 4, 5 หรือ 6 ผลลัพธ์ของ pulse code modulator เป็นชุดอนุกรมของเลขฐานสองที่แทน ด้วยคำสั่งของ 2 บิต ที่จุดปลายทาง (ปลายด้านรับ) ของวงจรการสื่อสาร pulse code modulator จะแปลงเลขฐานสอง กลับมาสู่ระดับควอนตัมเดิม ใน modulator ซึ่ง pulse เหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการคืนสภาพ เป็นรูปแบบคลื่นอะนาล็อกเดิม
ขั้นตอนการโมดูเลตแบบ PCM มีดังนี้
  1. ทำการ “ควอนไทซ์” สัญญาณอนาล็อก โดยทำให้ค่าขนาดของสัญญาณเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง เสียก่อน
  2. จากนั้นทำการ “แซมปิง” สัญญาณด้วยอัตราที่เหมาะสม เราก็จะได้สัญญาณ PAM ซึ่งในแต่ละพัลส์นั้นสามารถจะกำหนด รหัสแทนพัลส์ ได้ด้วยรหัสของเลขฐานสอง
  3. รหัสของแต่ละพัลส์ก็จะถูกส่งออกไปในรูปแบบของเลขฐานสองเมื่อสัญญาณ PCM
Pulse Code Modulation
    เกี่ยวข้องกับการแปลงสัญญาณอนาล็อก เช่น สัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นขบวนพัลส์ (pulse train) ในรูปของรหัส (code) ซึ่งมีแอมปลิจูดคงที่ แล้วส่งไปในช่องส่งสัญญาณ ส่วนปลายทางด้านรับขบวนพัลส์ดังกล่าวจะถูกแปลงกลับเป็นสัญญาณอนาล็อก ดังเดิมการส่งขบวนพัลส์นี้เป็นลักษณะของ Digital Transmission ซึ่งมีข้อได้เปรียบเหนือ analog transmission ในเรื่องภูมิคุ้มกันต่อสัญญาณรบกวน (noise)และความเพี้ยนต่าง ๆ การเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล ประกอบด้วยหลักการใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ
  1. การสุ่มตัวอย่าง (sampling) ซึ่งเราจะได้ขบวนพัลส์ตัวอย่าง (sample pulse) หรือ PAM
  2. การนำสัญญาณ PAM มาจัดระดับแอมปลิจูดใหม่ (Quantizing)
  3. การนำ PAM แต่ลูกไปเข้ารหัส (coding)

การมอดูเลตเชิงเลขทางเฟส (PSK)

    การมอดูเลตแบบ PSK ค่าของขนาดและความถี่ ของคลื่นพาห์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ที่เปลี่ยนคือ เฟสของสัญญาณ เมื่อมีการเปลี่ยนสภาวะจากบิต 1 เป็น 0 หรือเปลี่ยนจาก 0 เป็น 1 เฟสของคลื่นจะ เปลี่ยนไป 180องศา

การมอดูเลตเชิงเลขทางเฟส (PSK)





การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)

   การมอดูเลตแบบ FSK ขนาดของคลื่นพาห์จะไม่ เปลี่ยนแปลง ลักษณะของสัญญาณมอดูเลตนั้น เมื่อค่า ของบิตของสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมีค่าเป็น 1 ความถี่ ของคลื่นพาห์จะสูงกว่าปกติ และเมื่อบิตมีค่าเป็น 0 ความถี่ของคลื่นพาห์ก็จะต่ ากว่าปกต

การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)

ที่มา:http://lms.rmutsb.ac.th
       https://digitalcpe2.wordpress.com

บทความ Arduino คือไร? ตอนที่2

บทความ Arduino คืออะไร? ตอนที่2 มาทำความรู้จักกับ Arduino รุ่นต่างๆกัน
                                         (บทความนี้ เหมาะสำหรับมือใหม่ หัดเล่น)



              2               
         


Arduino Board (Official from Arduino.cc) มีหลากหลายรุ่นที่น่าสนใจ สินค้าผ่านการทดสอบคุณภาพ 100% ลูกค้าสามารถเลือกใช้บอร์ด Arduino ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีดังนี้


1. Arduino Uno R3 เป็นบอร์ด Arduino ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง ส่วนใหญ่โปรเจคและ Library ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมา Support จะอ้างอิงกับบอร์ดนี้เป็นหลัก และข้อดีอีกอย่างคือ กรณีที่ MCU เสีย ผู้ใช้งานสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ง่าย (ดูรายละเอียดสินค้า)


2

2. Arduino Uno SMD เป็นบอร์ดที่มีคุณสมบัติและการทำงานเหมือนกับบอร์ด Arduino UNO R3 ทุกประการ แต่จะแตกต่างกับที่ Package ของ MCU ซึ่งบอร์ดนี้จะมี MCU ที่เป็น Package SMD (Arduino UNO R3 มี MCU ที่เป็น Package DIP)


3

3. Arduino Mega 2560 R3 เป็นบอร์ด Arduino ที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องใช้ I/O มากกว่า Arduino Uno R3 เช่น งานที่ต้องการรับสัญญาณจาก Sensor หรือควบคุมมอเตอร์ Servo หลายๆ ตัว ทำให้ Pin I/O ของบอร์ด Arduino Uno R3 ไม่สามารถรองรับได้ ทั้งนี้บอร์ด Mega 2560 R3 ยังมีความหน่วยความจำแบบ Flash มากกว่า Arduino Uno R3 ทำให้สามารถเขียนโค้ดโปรแกรมเข้าไปได้มากกว่า ในความเร็วของ MCU ที่เท่ากัน

4


4. Arduino Mega ADK เป็นบอร์ดที่ออกแบบมาให้บอร์ด Mega 2560 R3 สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ Android Deviceผ่านพอร์ต USB Host ของบอร์ดได้


5


5. Arduino Leonardo การทำงานจะคล้ายกับบอร์ด Arduino Uno R3 แต่มีการเปลี่ยน MCU ตัวใหม่เป็น ATmega32U4 ซึ่งมีโมดูลพอร์ต USB มาด้วยบนชิป (แตกต่างจากบอร์ด Arduino UNO R3 หรือ Arduino Mega 2560 ที่ต้องใช้ชิป ATmega16U2 ร่วมกับ Atmega328 ในการเชื่อมต่อกับพอร์ต USB)  (ดูรายละเอียดสินค้า)                            



ข้อควรระวัง: เนื่องจาก MCU เป็นคนละเบอร์กับ Arduino Uno R3 อาจะทำให้บอร์ด Shield บางตัวหรือ Library ใช้ร่วมกันกับบอร์ด Arduino Leonardo ไม่ได้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนใช้งาน

6

6. Arduino Mini 05 เป็นบอร์ด Arduino ขนาดเล็กที่ใช้ MCU เบอร์ ATmega328 เบอร์เดียวกับบอร์ด Arduino UNO R3 (ดูรายละเอียดสินค้า)



ข้อแตกต่าง: บอร์ด Arduino Mini 05 จะไม่มีพอร์ต USB มาให้ ผู้ใช้งานต้องต่อกับบอร์ด USB to Serial Converter เพิ่มเมื่อต้องการโปรแกรมบอร์ด

7

7. Arduino Pro Mini 328 3.3V เป็นบอร์ด Arduino ขนาดเล็ก ที่ใช้ MCU เบอร์ ATmega328 ซึ่งจะคล้ายกับบอร์ด Arduino Mini 05 แต่บนบอร์ดจะมี Regulator 3.3 V ชุดเดียวเท่านั้น ระดับแรงดันไฟที่ขา I/O คือ 3.3V

8

8. Arduino Pro Mini 328 5V เป็นบอร์ด Arduino ขนาดเล็ก ที่ใช้ MCU เบอร์ ATmega328 เช่นเดียวกับบอร์ด Arduino Mini 05 แต่บนบอร์ดจะมี Regulator 5V ชุดเดียวเท่านั้น ระดับแรงดันไฟที่ขา I/O คือ 5V

9

9. Arduino Ethernet with PoE module เป็นบอร์ด Arduino ที่ใช้ MCU เบอร์เดียวกับ Arduino Uno SMD ในบอร์ดมีชิป Ethernet และช่องสำหรับเสียบ SD Card รวมทั้งโมดูล POE ทำให้บอร์ดนี้สามารถใช้แหล่งจ่ายไฟจากสาย LAN ได้โดยตรง โดยไม่ต้องต่อ Adapter เพิ่ม แต่บอร์ด Arduino Ethernet with PoE module นี้จะไม่มีพอร์ต USB ทำให้เวลาโปรแกรมต้องต่อบอร์ด USB toSerial Converter

10

10. Arduino Ethernet without PoE module บอร์ดนี้จะตัดโมดูล POE ออกไป ต้องใช้ไฟจากพอร์ต Power Jack เท่านั้น คุณสมบัติอื่นๆ จะเหมือนกับบอร์ด Arduino Ethernet with PoE module


11

11. Arduino Due เป็นบอร์ด Arduino ที่เปลี่ยนชิป MCU ใหม่ ซึ่งจากเดิมเป็นตระกูล AVR เปลี่ยนเป็นเบอร์ AT91SAM3X8E (ตระกูล ARM Cortex-M3) แทน ทำให้การประมวลผลเร็วขึ้น แต่ยังคงรูปแบบโค้ดโปรแกรมของ Arduino ที่ง่ายอยู่ ข้อควรระวัง: เนื่องจาก MCU เป็นคนละเบอร์กับ Arduino Uno R3 อาจะทำให้บอร์ด Shield บางตัวหรือ Library ใช้ร่วมกันกับบอร์ด Arduino Leonardo ไม่ได้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนใช้งาน

12



          เนื่องจากบอร์ด Arduino UNO R3 เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทำให้ Library และบอร์ด Shield ส่วนใหญ่จะรองรับกับบอร์ดรุ่นนี้ ดังนั้น จึงขออธิบายรายละเอียดต่างๆ โดยอิงจากบอร์ด Arduino UNO R3 เป็นหลัก



คำถาม: ถ้าต้องการทราบว่า Library ที่รันบนบอร์ด Arduino Uno R3 นั้น สามารถนำรันบนบอร์ด Arduino อื่นๆ ได้หรือไม่? มีหลักการตรวจสอบอย่างไร?

คำแนะนำ: ในเบื้องต้น ถ้าบอร์ด Arduino ที่มี MCU เป็นเบอร์ Atmega328 (เบอร์เดียวกับบอร์ด Arduino UNO R3) จะสามารถใช้ Library เดียวกันกับที่ใช้ใน Arduino UNO R3 ได้ แต่ถ้าบอร์ด Arduino ที่ใช้ MCU เบอร์อื่นๆ เช่น Arduino Mega 2560 R3 ที่ใช้ MCU เบอร์ ATmega2560 ผู้ใช้งานต้องตรวจสอบก่อนว่า Library นั้นๆ รองรับหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็น Library ที่ต้องติดต่อกับค่า Register ต่างๆ อาจจะใช้ด้วยกันไม่ได้ หรือขาบางขาจะไม่ตรงกับรุ่น UNO
          ตัวอย่างบอร์ด Arduino ที่สามารถใช้ Library เดียวกับบอร์ด Arduino UNO R3: Arduino Uno SMD, Arduino Mini 05, Arduino Pro Mini 328 - 3.3V, Arduino Pro Mini 328 - 5V, Arduino Ethernet with PoE module, Arduino Ethernet without PoE module



คำถาม: ถ้าต้องการทราบว่า Shield ที่รันบนบอร์ด Arduino Uno R3 นั้น สามารถรันบนบอร์ด Arduino อื่นๆ ได้หรือไม่ มีหลักการตรวจสอบอย่างไร?

คำแนะนำ: หลักการตรวจสอบ คือ

   - ต้องดูระดับแรงดัน I/O ของบอร์ด Arduino รุ่นนั้นๆ ว่าสามารถต่อกับ Shield ได้หรือไม่
กรณีที่บอร์ด Arduino มีระดับแรงดัน 5V และบอร์ด Arduino Shield ก็ใช้ระดับแรงดัน 5V เช่นกัน ก็สามารถต่อใช้งานร่วมกัน
กรณีที่บอร์ด Arduino มีระดับแรงดัน 3.3V (อาทิเช่น Arduino DUE) และบอร์ด Arduino Shield ใช้ระดับแรงดัน 5V ต้องตรวจสอบว่าบนบอร์ด  Arduino Shield มี IC Voltage Level Converter หรือไม่? หรือขา I/O ที่ใช้สามารถทนกับระดับแรงดัน 5V ได้หรือไม่? (ถ้าไม่มี IC Voltage level converter จะต้องลดระดับแรงดันของทั้งสองบอร์ดให้เท่ากันก่อน จึงจะสามารถนำมาต่อร่วมกันได้)


   - นอกจากดูเรื่องระดับแรงดันแล้ว ต้องตรวจสอบต่อว่าบอร์ด Arduino Shield ที่จะนำมาต่อนั้น เมื่อเสียบกับบอร์ด Arduino แล้วมี Pin I/O ที่ต้องการใช้งานตรงกันหรือไม่? (เช่น Pin I2C, SPI, PWM)


ที่มา: https://thaieasyelec.com

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Arduino คืออะไร? ตอนที่ 1


Arduino คืออะไร?

https://o.lnwfile.com/_/o/_raw/ip/dt/

บทความ Arduino คืออะไร? ตอนที่1 แนะนำเพื่อนใหม่ที่ชื่อ Arduino
(บทความนี้ เหมาะสำหรับมือใหม่ หัดเล่น)

Arduino UNO R3

Arduino คืออะไร
         Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย

         ความง่ายของบอร์ด Arduino ในการต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ คือผู้ใช้งานสามารถต่อวงจรอิเล็กทรอนิคส์จากภายนอกแล้วเชื่อมต่อเข้ามาที่ขา I/O ของบอร์ด (ดูตัวอย่างรูปที่ 1) หรือเพื่อความสะดวกสามารถเลือกต่อกับบอร์ดเสริม (Arduino Shield) ประเภทต่างๆ (ดูตัวอย่างรูปที่ 2) เช่น Arduino XBee Shield, Arduino Music Shield, Arduino Relay Shield, Arduino Wireless Shield, Arduino GPRS Shield เป็นต้น มาเสียบกับบอร์ดบนบอร์ด Arduino แล้วเขียนโปรแกรมพัฒนาต่อได้เลย


Arduino with XBee Shield


จุดเด่นที่ทำให้บอร์ด Arduino เป็นที่นิยม

ง่ายต่อการพัฒนา มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐาน ไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
มี Arduino Community กลุ่มคนที่ร่วมกันพัฒนาที่แข็งแรง 
Open Hardware ทำให้ผู้ใช้สามารถนำบอร์ดไปต่อยอดใช้งานได้หลายด้าน
ราคาไม่แพง
Cross Platform สามารถพัฒนาโปรแกรมบน OS ใดก็ได้ 

รูปแบบการเขียนโปรแกรมบน Arduino

3


1. เขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ผ่านทางโปรแกรม ArduinoIDE ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก Arduino.cc/en/main/software
2. หลังจากที่เขียนโค้ดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ใช้งานเลือกรุ่นบอร์ด Arduino ที่ใช้และหมายเลข Com port 

4


3. กดปุ่ม Verify เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและ Compile โค้ดโปรแกรม จากนั้นกดปุ่ม Upload โค้ด โปรแกรมไปยังบอร์ด Arduino ผ่านทางสาย USB เมื่ออับโหลดเรียบร้อยแล้ว จะแสดงข้อความแถบข้างล่าง “Done uploading” และบอร์ดจะเริ่มทำงานตามที่เขียนโปรแกรมไว้ได้ทันที


6


Layout & Pin out Arduino Board (Model: Arduino UNO R3) 

 7

1.USBPort: ใช้สำหรับต่อกับ Computer เพื่ออับโหลดโปรแกรมเข้า MCU และจ่ายไฟให้กับบอร์ด

2.Reset Button: เป็นปุ่ม Reset ใช้กดเมื่อต้องการให้ MCU เริ่มการทำงานใหม่

3.ICSP Port ของ Atmega16U2 เป็นพอร์ตที่ใช้โปรแกรม Visual Com port บน Atmega16U2

4. I/OPort:Digital I/O ตั้งแต่ขา D0 ถึง D13 นอกจากนี้ บาง Pin จะทำหน้าที่อื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น Pin0,1 เป็นขา Tx,Rx Serial, Pin3,5,6,9,10 และ 11 เป็นขา PWM  

5.ICSP Port: Atmega328 เป็นพอร์ตที่ใช้โปรแกรม Bootloader

6. MCU: Atmega328 เป็น MCU ที่ใช้บนบอร์ด Arduino

7. I/OPort: นอกจากจะเป็น Digital I/O แล้ว ยังเปลี่ยนเป็น ช่องรับสัญญาณอนาล็อก ตั้งแต่ขา A0-A5

8.Power Port: ไฟเลี้ยงของบอร์ดเมื่อต้องการจ่ายไฟให้กับวงจรภายนอก ประกอบด้วยขาไฟเลี้ยง +3.3 V, +5V, GND, Vin

9. Power Jack: รับไฟจาก Adapter โดยที่แรงดันอยู่ระหว่าง 7-12 V 

10. MCU ของ Atmega16U2 เป็น MCU ที่ทำหน้าที่เป็น USB to Serial โดย Atmega328 จะติดต่อกับ Computer ผ่าน Atmega16U2


ที่มา:https://www.thaieasyelec.com

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แอ่วพะเยา ให้ม่วนใจ๋

https://f.ptcdn.info/240/058/000/

      สวัสดีครับ พอดีไปทำธุระที่ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา แล้วว่าง 1 วันไม่รู้ทำไร เลยลองหาสถานที่ท่องเที่ยวในกูเกิ้ลดู ก็เลยตัดสินใจจะลองไปวัดนันตารามกับ ภูลังกา รีสอร์ทดูครับ

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

วัดนันตารามนั้นจะอยู่ในตัวเมืองเชียงคำเลยนะครับ แนะนำว่าให้เปิด GPS เพราะว่า ทางเข้าค่อนข้างไม่สะดุดตา ขับรถยนต์จะเลยเอาง่ายๆ แต่เมืองเชียงคำนี่เดินทางง่ายครับ ซอกซอยออกถึงกันเกือบหมด คือถ้าจะเที่ยวแต่ในเมืองเชียงคำ สามารถใช้จักรยานได้สบายๆ

https://f.ptcdn.info/239/058/000/
ลิงสามตัว คือภาพ
ปริศนาธรรมที่มีใจความสำคัญหลักว่าด้วย "การไม่รับรู้โดยการมองในสิ่งที่ไม่ดี การไม่ฟังในสิ่งที่ไม่ดี และการไม่กล่าววาจาในสิ่งที่ไม่ดี"
*จากวิกิครับ เผื่อใครเคยเห็นแล้วไม่รู้ความหมาย

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

พระประธานไม้สักทองครับ

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

https://f.ptcdn.info/239/058/000/


วิวข้างทางก็ประมาณนี้ครับ
               
https://f.ptcdn.info/239/058/000/
   
https://f.ptcdn.info/239/058/000/

ถึงแล้วครับ ภูลังการีสอร์ท ตัวรีสอร์ดจะอยู่ข้างบน ส่วนร้านที่เห็นในรูปเค้าสร้างใหม่ครับเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้เปิด ลุงที่อยู่ที่นั่นใจดี ให้ผมเข้าไปถ่ายรูปได้ครับ เค้าบอกว่าเป็นของน้องชาย

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

https://f.ptcdn.info/239/058/000/

สรุป
อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยานั้น เป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ธรรมดานะครับ เพราะมีร้านค้าต่างๆมากมายเนื่องจาก คนลาวเข้ามาทำการซื้อสินค้าด้วย คือที่นี่มีทุกอย่างครบ และใหญ่ด้วยครับ พวกร้านค้าต่างๆ  การเดินทาง ขับจากตัวเมืองพะเยามาอีก 1 ชั่วโมง วัดนันตารามอยู่ในตัวเมืองส่วนภูลังการีสอร์ท สามารถขับรถไปได้สบายๆถนนดีครับ วิวสวยมากข้างทาง ตัวรีสอร์ทอยู่ข้างถนนเลย ไม่ต้องเดินต่อให้เมื่อย

กระทู้ pantip
ที่มา;https://pantip.com/topic/37798257

ผู้จัดทำ


ผู้จัดทำ





นายเจตนิพัทธ์  ชัยลังกา
เลขที่ 9  ชั้น ปวส.2/3(ทวิภาคี) 

ปัจจุบัน
กำลังศึกษาชั้น ปวส.
วิทยาลัยเทคนิคพะเยา