วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พื้นฐานการบัดกรี

พื้นฐานการบัดกรี
ก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ด้วยบทความพื้นฐานการบัดกรี เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้มาใหม่ในวงการ
การบัดกรี (soldering) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อลายทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสายไฟเข้ากับขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเชื่อมต่อสายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ เข้ากับปลั๊ก คอนเน็กเตอร์ หรือจุดต่อต่างๆ โดยมีหัวแร้งทำหน้าที่หลอมตะกั่วเพื่อเชื่อมลายทองแดงและขาของอุปกรณ์ให้แน่น
ดังนั้นการบัดกรีก็คือการหลอมโลหะเพื่อเชื่อมต่อโลหะ 2 จุดหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน ในที่นี้คือ ลายทองแดงหรือสายไฟกับขาของอุปกรณ์ โดยใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานจุดต่อ
ส่วนการถอนบัดกรี (desoldering) เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกับการบัดกรี นั่นคือเป็นการปลดการเชื่อมต่อเพื่อถอดอุปกรณ์ออกจากแผ่นวงจรพิมพ์ หรือปลดสายสัญญาณออกจากจุดต่อ โดยมีหัวแร้งทำหน้าที่หลอมตะกั่วที่เชื่อมต่ออยู่เดิม จากนั้นใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ทำการนำตะกั่วออกจากจุดเชื่อมต่อนั้นจนหมดหรือมากพอที่จะทำให้การเชื่อมต่อเดิมนั้นหลุดหรือสามารถุอดอุปกรณ์ออกจากแผ่นวงจรพิมพ์ได้

รู้จักกับอุปกรณ์ในงานบัดกรี

หัวแร้ง (Soldering iron)

มีให้เลือกใช้งานหลายแบบดังนี้
1. หัวแร้งปืน (รูปที่ 1) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปืน จะเกิดความร้อนขึ้นที่ปลายเมื่อกดสวิตช์ที่มีรูปร่างเหมือนไกปีนเท่านั้น โดยจะเกิดความร้อนขึ้นเร็วมาก เมื่อความร้อนถึงค่าที่ต้องการจะต้องปล่อยสวิตช์ไกปืน แล้วทำการบัดกรีทันที ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลวดนำความร้อนภายในหัวแร้งเกิดขาด แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากขนาดใหญ่และควบคุมความร้อนของปลายหัวแร้งได้ยาก ซึ่งมีผลทำให้แผ่นวงจรพิมพ์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้ง่าย

รูปที่  1 หัวแร้งปืน
2. หัวแร้งแช่ (รูปที่ 2) เป็นหัวแร้งที่มีค่าความร้อนคงที่ตามกำลังไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ที่ระบุไว้ กำลังวัตต์ของหัวแร้งที่เหมาะสมสำหรับการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือ 20 ถึง 60 วัตต์ หัวแร้งแช่เป็นหัวแร้งที่นิยมใช้มากที่สุดและราคาไม่แพง ให้ความร้อนคงที่ การเลือกซื้อมาใช้งานควรเลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะสม เช่น ถ้าใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ควรเลือกขนาด 20 ถึง 30 วัตต์ แบบที่มีปลายแหลมเล็ก แต่ถ้านำมาใช้ในการบัดกรีสายสัญญาณหรือสายไฟ ควรเลือกแบบที่มีกำลัง 30 วัตต์ขึ้นไป อาจถึง 60 วัตต์หากสายไฟที่ใช้ใหญ่ และควรเลือกแบบที่มีปลายมนหรือปลายตัด
รูปที่ 2 หัวแร้งแช่
3. หัวแร้งแช่แบบปรับกำลังไฟฟ้าได้ (รูปที่ 3) หัวแร้งแบบนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ปกติ แต่เพิ่มสวิตช์ขึ้นมาอีก 1 ตัว เมื่อกดสวิตช์จะเป็นการปรับกำลังไฟฟ้าของหัวแร้งเพิ่มขึ้น เช่น จากเดิม 20 วัตต์เพิ่มเป็น 120 วัตต์หรืออาจถึง 200 วัตต์ในบางรุ่น ช่วยให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งบัดกรีขาอุปกรณ์และบัดกรีสายไฟ โดยไม่ต้องซื้อหัวแร้งหลายตัว การกดสวิตช์เพื่อเพิ่มกำลังวัตต์ไม่ควรกดสวิตช์นานเกิน 30 วินาที เพราะอาจจะทำให้ขดลวดความร้อนภายในหัวแร้งเสียหายได้
รูปที่ 3 หัวแร้งแช่แบบปรับกำลังไฟฟ้าได้

นอกจากนี้ยังมีหัวแร้งแบบที่สามารถปรับหรือเลือกอุณหภูมิที่ต้องการให้คงที่ได้ ปัจจัยอีกประการหนึ่งสำหรับการเลือกซื้อหัวแร้งในปัจจุบันนี้คือ ควรเลือกซื้อหัวแร้งที่มีปลาย (tip) เข้าได้กับข้อกำหนดของ ROHS ซึ่งจะมีการพิมพ์ข้อความไว้ที่กล่องของหัวแร้งว่า Pb-free tip เป็นต้น และควรใช้หัวแร้งแบบนี้กับลวดบัดกรีแบบไม่มีส่วนผสมของตะกั่ว (lead-free solder)
รูปที่ 4 แสดงฉลากที่ใช้แจ้งว่า ปลายหัวแร้งของหัวแร้งตัวนี้ผลิตขึ้นให้เข้ากันได้กับข้อกำหนดของ ROHS แนะนำให้ใช้ กับลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่ว (lead-free solder)

รู้จักกับลวดบัดกรี หรือตะกั่วบัดกรี

ลวด​บัดกรี​เป็น​คำ​ที่​ถูก​นำมาใช้​ใหม่​แทน​คำ​ว่า​ตะกั่ว​บัดกรี ในอดีต​ลวด​บัดกรี​จะ​ประกอบด้วย​ตะกั่ว​ผสม​กับ​ดีบุก จึง​เรียก​ลวด​บัดกรี​นี้​ว่า ตะกั่ว​บัดกรี (solder lead) แต่ใน​ปัจจุบัน​มี​การ​รณรงค์​และ​บังคับ​ให้​เลิกใช้​ตะกั่ว​เป็น​ส่วนผสม​ใน​การ​ผลิต​ลวด​บัดกรี โดย​หันมา​ใช้​ดีบุก, เงิน, ​บิสมัธ, ทองแดง, อินเดียม และ​สังกะสี​มา​ผลิต​เป็น​ลวด​บัดกรี​แทน

รูปที่ 5 ตัวอย่างของลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่ว
สำหรับลวดบัดกรีที่เหมาะสำหรับการบัดกรีในงานอิเล็กทรอนิกส์คือ ลวดบัดกรีที่มีส่วนผสมของดีบุกและโลหะอื่นในอัตรา 90% : 10% ขึ้นไป ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ เงิน โดยมีอัตราส่วนผสมดีบุก 97% และเงิน 3% เพื่อทำให้ได้โลหะผสมที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ และช่วยให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันก่อนที่จะเสียหายเนื่องจากความร้อนจากการบัดกรี
ข้อเสียของการใช้ลวดบัดกรีที่ไม่มีส่วนผสมของตะกั่วคือ จุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 185 องศาเป็น 220 องศา ดังนั้นหัวแร้งที่ใช้จะต้องมีกำลังวัตต์เพิ่มขึ้น รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรพิมพ์จะต้องสามารถทนความร้อนได้มากขึ้นด้วย
นอกจากนั้นภายในตะกั่วบัดกรีมีน้ำยาประสานหรือฟลักซ์ (flux) สอดอยู่ ฟลักซ์จะช่วยให้ตะกั่วสามารถติดยึดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรพิมพ์ได้ง่ายขึ้น
ขนาดของลวดบัดกรีมีการผลิตออกมาหลายขนาด ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 และ 1.2 มิลลิเมตร  นอกจากนั้นยังมีลวดบัดกรีที่ผลิตมาในรูปแบบเป็นแท่ง สำหรับใช้อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากใช้การบัดกรีแบบคลื่น (wave soldering) ซึ่งต้องมีการใช้งานอ่างบัดกรีที่มีลวดบัดกรีหลอมละลายอยู่เป็นจำนวนมาก

ที่วางหัวแร้ง

      แสดง​ใน​รูป​ที่ 6 สำหรับ​เครื่องมือ​นี้​ถ้าหาก​พอ​มี​งบ​เหลือ​ควร​จัดหา​มา​ใช้ สนนราคา​มี​ตั้งแต่​ไม่​กี่​สิบ​บาท​จนถึง​หลัก​หลาย​ร้อย แบบ​ดี​หน่อย​จะ​มี​ฟองน้ำ​สำหรับ​เช็ด​ปลาย​หัวแร้ง​แถม​มา​ให้​ด้วย สามารถ​หา​ซื้อ​ได้​จาก​ร้าน​จำหน่าย​อุปกรณ์​อิเล็กทรอนิกส์ ร้าน​เดียว​กับ​ที่​มี​ขาย​หัวแร้ง​นั่น​ละ​ครับ หรือ​ถ้า​อยาก​ประหยัด​หน่อย หาก​มา​ที่​บ้าน​หม้อ​ได้ ตาม​ร้าน​ขาย​เครื่องมือ​ข้างทาง​ก็​มี​ที่​หัวแร้ง​จำหน่าย​ใน​ราคา​สุด​ย่อม​เยาว์​ให้​เลือก​อย่าง​เต็มที่
รูปที่ 6 ตัวอย่างของที่วางหัวแร้ง

ลงมือบัดกรีกันเลย

      เริ่มต้น​ด้วย​การ​เตรียม​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​พร้อม​สำหรับ​การ​บัดกรี​ติดตั้ง​อุปกรณ์ รวมถึง​เครื่องมือ​พื้นฐาน​และ​อุปกรณ์​ทั้งหมด​ที่​ใช้ใน​การ​บัดกรี ขั้นตอน​การ​บัดกรี​มี​ดังนี้
(1) เสียบหัวแร้งขนาด 25 ถึง 30 วัตต์ เข้ากับไฟบ้าน (แต่ถ้าหากใช้กับลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่วผสม แนะนำให้ใช้ขนาด 40 ถึง 65 วัตต์ หรือใช้แบบที่มีปุ่มปรับกำลังไฟสูง) รอประมาณ 5 นาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งมีความร้อนพอเหมาะสำหรับการบัดกรี โดยให้นำหัวแร้งเสียบไว้กับที่วางหัวแร้งเพื่อเตรียมพร้อมรอการใช้งาน
(2) เสียบขาอุปกรณ์เข้ากับแผ่นวงจรพิมพ์ โดยถ้า เป็นตัวต้านทานต้องทำการดัดขาให้พอดีกับจุดบัดกรี และงอขากลับเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้ตัวต้านทานหลุดออกจากแผ่นวงจรพิมพ์
รูปที่ 7A (เสียบอุปกรณ์)
รูป​ที่ 7B (ถ่าง​ขา​อุปกรณ์​ออก​เล็กน้อย)
(3) นำ​หัวแร้ง​แตะ​ไว้​ที่​ขา​ของ​อุปกรณ์​ประมาณ 2 – 3 วินาที
รูปที่ 7C (ให้ความร้อน)



(4) นำ​ลวด​บัดกรี​มา​จี้​ที่​ขา​ของ​ตัว​ต้านทาน​จะเห็นลวดบัดกรีเริ่ม​หลอมละลาย​เพื่อ​เชื่อม​ขา​อุปกรณ์​และ​จุด​บัดกรี​เข้า​ด้วยกัน สังเกต​จุด​บัดกรี​จะ​เกิด​ความ​เงา​งาม มี​ลักษณะ​คล้าย​รูปทรง​กรวย





เทคนิคการบัดกรี

(1) การ​ใช้​ลวด​บัดกรี​ที่​มาก​เกินไป ทำให้​จุด​บัดกรี​เป็น​ตุ้ม​กลม​เป็นผล​ทำให้​โลหะ​บัดกรี​ลัดวงจร​กับ​จุด​บัดกรี​ตำแหน่ง​อื่นๆ
(2) การใช้ลวดบัดกรีน้อยเกินไป หรือการให้ความร้อนจากหัวแร้งน้อยเกินไป จะทำให้ตะกั่วไม่ติดกับขาอุปกรณ์หรือจุดบัดกรี ทำให้การนำไฟฟ้าทำได้ไม่ดีหรือไม่นำไฟฟ้า


ที่มา:https://makers.in.th/

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิธีการและขั้นตอนการเข้าหัวสาย

              วิธีการและขั้นตอนการเข้าหัวสาย RJ-45


1. ปลอกเปลือกนอกของสาย CAT5 ออก โดยห่างจากปลายสายประมาณ 2-3 cm โดยคีมเข้าหัวบางรุ่จะมีส่วนที่ปลอกเปลือกนอกของสาย RJ45 พอใส่สายแลนเข้าไปแล้วหมุนคีมเป็นวงกลมให้รอบสาย หากคีมเข้าหัวไม่มีในส่วนนี้ ให้ใช้คัตเตอร์หรือกรรไกรแทนตามความถนัด ระวังอย่าให้สายแลนภายในขาด

2.จากนั้นก็ดึงส่วนของปลอกที่แยกออกจากกันออก
 3. เมื่อปลอกสายแลนเสร็จแล้ว จะสังเกตเห็นมีเส้นด้ายสีขาว(แล้วแต่ยี่ห้อของสายแลน) ให้ใช้กรรไกร ตัดตัดสายไฟสายแลน
4. จากนั้นคลายเกียวออกมาจะพบสายแลนพันเกลียวเป็นคู่อยู่ คู่
5. จัดเลียงลำดับสายใหม่ (ในกรณีต้องการทำสายตรง ใช้สำหรับเครื่องคอมไป Switch) โดยให้เรียงสีดังนี้ทั้งสองข้าง ขาวส้ม ส้ม ขาวเขียว ฟ้า ขาวฟ้า เขียว ขาวน้ำตาล น้ำตาล



หลังจากที่เราเข้าหัว RJ 45 กับสายแลนเสร็จแล้ว ให้นำมาทดสอบกับอุปกรณ์วัดสัญญาณสังเกตสัญญาณไฟ ถ้าต่อแบบตรงสัญญาณไฟจะตรงกันทั้งหมด ช่อง หากสัญญาณไฟช่องใดสลับกันแสดงว่ามีหัว RJ 45 ด้านใดด้านหนึ่งเข้าหัวผิด (สลับสาย) ต้องตัดหัว RJ 45 ที่เข้าหัวผิด แล้วทำการเข้าหัว RJ 45 ใหม่

ที่มา : https://sites.google.com



วิธีการติดตั้งจานดาวเทียมรับ Thaicom จาน C-band

การติดจานดำต้องหาทิศก่อน ยกตัวอย่างติดดาว Thaicom C band
ดาวเทียม THAICOM อยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ หรือที่ 230 องศา
กรณีที่ถ้าไม่มีเข็มทิศ อย่างง่ายคือดูจานเพื่อนบ้านว่าส่วนใหญ่หันหน้าจานไปทางไหน นั้นแหละเเลือกตำแหน่งติดตั้งได้เลย
แล้วดูว่าอย่าให้มีอะไรมาบดบังท้องฟ้า


จัดการตั้งเสา โดยเสาต้องอยู่ในแนวดิ่ง 90 องศาหรือเรียกง่ายๆคือต้องตั้งเสาให้ได้ฉากครับ
ไม่ว่าจะเสาแบบตรงหรือแบบตัว L วัดให้ละเอียด นี่เป็นจุดตายที่ทำให้หาสัญญาณได้ง่ายครับ


ต่อไปประกอบหน้าจานตามคู่มือ
เมื่อได้หน้าจานแล้วมาดูการใส่ LNB กัน ให้หันหน้าเข้าหาจานโดยให้เลข 0 อยู่ที่ 7 นาฬิกาโดยประมาณ โดยคิดว่าหน้าจานคือนาฬิกา ด้านบนคือ 12 ล่างคือ 6 (การตั้ง LNB แต่ละยี่ห้ออาจแตกต่างกัน กรุณาดูตามคู่มือของท่าน หรือที่เมนูซ้ายมือของเว็บเรา)
ขันสกรูจับLNB ที่ความลึกประมาณเลข 38 สังเกตุให้ปลายสกรูอยู่แนวเดียวกับตัวเลข
หรือปากกระอกโผล่จากสกาล่าริง ประมาณ 2 ซม.


นำจานประกอบกับเสาได้เลย โดยปรับมุมก้มอยู่ที่ 33 องศาดูตามแองเกิ้ลพอดี (พะเยา)

ด้ตามนี้เจอสัญญาณแน่นอน แล้วหันไปทิศ 230 องศาที่เล็งไว้(แต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดมุมจะไม่เท่ากันนะครับ)

การปรับแต่งให้ได้สัญญาณที่ดีที่สุด

1. เปิดทีวี เริ่มที่ช่อง 3 แล้วกดปุ่ม info เพื่อดูสัญญาณความแรงและคุณภาพ
2. ส่ายจาน ซ้าย – ขวาอย่างช้าๆ ดูหน้าจอทีวี ดูที่ตรงตำแหน่งสัญญาณคุณภาพว่าเราส่ายจานไปตำแหน่งไหนแล้วได้สัญญาณมากที่สุด เจอสูงสุดแล้วขันล็อกน็อตเลย (ได้ตำแหน่งมุมส่าย)
3ปรับหน้าจานขึ้นลงอย่างช้าๆ ดูที่ตรงตำแหน่งสัญญาณคุณภาพว่าเราส่ายจานไปตำแหน่งไหนแล้วได้สัญญาณมากที่สุด เจอแล้วขันล็อกน็อตเลย(ได้ตำแหน่งมุมก้มเงย)
ช่อง 3


จุดปรับที่สามารถปรับได้แบบละเอียดอีกครั้งเพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณ

1. ที่มุมก้มเงย
2. ที่ทิศ  ส่ายหน้าจานเพื่อหาจุดที่รับสัญญาณได้สูงที่สุด
3. ปรับหมุนที่ตัว LNB เพื่อปรับให้การรับสัญญาณตรงแนวการส่งให้มากที่สุด
โดยการปรับหมุนซ้ายหรือหมุนขวาแล้วสังเกตุที่ความแรงสัญญาณ
4. ปรับเลื่อนตัว LNB ขึ้นหรือลงเพื่อปรับหาระยะโฟกัสให้รับสัญญาณได้ดีที่สุด
คำเตือน  
เมื่อเอามือไปปรับที่ LNB  สัญญาณที่อ่านได้จากหน้าเครื่องจะลดลง
และเมื่อเอามือออกแล้วสัญญาณจะสูงขึ้นเหมือนเดิม

ที่มา:http://knowledgesatellite.nisit.net

วิธีการใช้งาน Multimeter 


%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-multimeter


     สวัสดีครับบบ ^^ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้พูดถึงประเภทของมัลติมิเตอร์ (Multimeter) พร้อมวิธีการเลือกใช้ว่าเราควรเลือกใช้มัลติมิเตอร์อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน สัปดาห์นี้เราขอนำเสนอวิธีการใช้งาน Multimeter เพื่อนๆ ชาว EF พร้อมรึยังครับ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับผมการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกต้องถูกวิธีนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าหากเราใช้ผิดอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ผู้ใช้และตัวอุปกรณ์ได้ สิ่งแรกก่อนการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดนั้นคือการศึกษารายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ของอุปกรณ์ว่าแต่ละส่วนประกอบนั้นใช้ทำอะไร
%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c-2
ภาพอธิบายส่วนประกอบของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ KEYSIGHT
ควรรู้ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บนมัลติมิเตอร์ เพื่อเวลาเราใช้งานจะได้กดเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2-function-swith
ภาพแสดงความหมายที่อยู่บน Function Switch ของ Digital Multimeter
มัลติมิเตอร์เกือบทุกรุ่นที่อยู่ทั่วไปตามท้องตลาดจะมี Rotary Switch หรือ Function Switch ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้งานมัลติมิเตอร์ ในการวัดค่าต่างๆ แต่ละครั้งต้องหมุน Rotary Switch ไปให้ตรงกับตำแหน่งที่เราต้องการวัด การใช้ Test Leads ก็สำคัญมากทุกครั้งที่ทำการวัดควรตรวจสอบก่อนเสมอมาเสียบและวัดตรงกับขั้วรึเปล่า ซึ่งสายสีแดงจะอยู่ทางขั้วบวก (+) สีดำจะอยู่ทางขั้วลบ (-)
ตัวอย่างการใช้งาน ถ้าต้องการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ให้หมุน Rotary Switch ไปที่ตำแหน่ง %e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89-multimeter-3แล้วนำ Test Leads ไปวัดตรงจุดที่ต้องการ โดยสิ่งที่ควรคำนึงคือการนำ Test Leads เสียบให้ถูกต้องแล้ววัดให้ถูกขั้ว สีแดงจะอยู่ทางขั้วบวก (+) สีดำจะอยู่ทางขั้วลบ (-)
%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89-multimeter-2
ภาพแสดงวิธีการวัดแรงดันไฟฟ้าด้วยดิจิตอลมัลติมิเตอร์
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับได้ โดยก่อนทำการวัดเราต้องทราบก่อนว่าบริเวณที่วัดนั้นเป็นไฟแบบใด แต่ในบางกรณีหากเราไม่ทราบว่าเป็นไฟกระแสตรงหรือกระแสสลับ Digital Multimeter ของ HIOKI นั้นได้ออกแบบให้สามารถวัดได้โดยที่เราไม่ต้องรู้ว่าบริเวณนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับโดยเพียงแค่หมุน Rotary Switch ไปที่ dt4256-9แล้วทำการวัดค่า
ที่มา:http://www.engineerfriend.com