วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พื้นฐานการบัดกรี

พื้นฐานการบัดกรี
ก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ด้วยบทความพื้นฐานการบัดกรี เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้มาใหม่ในวงการ
การบัดกรี (soldering) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อลายทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสายไฟเข้ากับขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเชื่อมต่อสายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ เข้ากับปลั๊ก คอนเน็กเตอร์ หรือจุดต่อต่างๆ โดยมีหัวแร้งทำหน้าที่หลอมตะกั่วเพื่อเชื่อมลายทองแดงและขาของอุปกรณ์ให้แน่น
ดังนั้นการบัดกรีก็คือการหลอมโลหะเพื่อเชื่อมต่อโลหะ 2 จุดหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน ในที่นี้คือ ลายทองแดงหรือสายไฟกับขาของอุปกรณ์ โดยใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานจุดต่อ
ส่วนการถอนบัดกรี (desoldering) เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกับการบัดกรี นั่นคือเป็นการปลดการเชื่อมต่อเพื่อถอดอุปกรณ์ออกจากแผ่นวงจรพิมพ์ หรือปลดสายสัญญาณออกจากจุดต่อ โดยมีหัวแร้งทำหน้าที่หลอมตะกั่วที่เชื่อมต่ออยู่เดิม จากนั้นใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ทำการนำตะกั่วออกจากจุดเชื่อมต่อนั้นจนหมดหรือมากพอที่จะทำให้การเชื่อมต่อเดิมนั้นหลุดหรือสามารถุอดอุปกรณ์ออกจากแผ่นวงจรพิมพ์ได้

รู้จักกับอุปกรณ์ในงานบัดกรี

หัวแร้ง (Soldering iron)

มีให้เลือกใช้งานหลายแบบดังนี้
1. หัวแร้งปืน (รูปที่ 1) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปืน จะเกิดความร้อนขึ้นที่ปลายเมื่อกดสวิตช์ที่มีรูปร่างเหมือนไกปีนเท่านั้น โดยจะเกิดความร้อนขึ้นเร็วมาก เมื่อความร้อนถึงค่าที่ต้องการจะต้องปล่อยสวิตช์ไกปืน แล้วทำการบัดกรีทันที ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ลวดนำความร้อนภายในหัวแร้งเกิดขาด แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากขนาดใหญ่และควบคุมความร้อนของปลายหัวแร้งได้ยาก ซึ่งมีผลทำให้แผ่นวงจรพิมพ์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้ง่าย

รูปที่  1 หัวแร้งปืน
2. หัวแร้งแช่ (รูปที่ 2) เป็นหัวแร้งที่มีค่าความร้อนคงที่ตามกำลังไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ที่ระบุไว้ กำลังวัตต์ของหัวแร้งที่เหมาะสมสำหรับการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือ 20 ถึง 60 วัตต์ หัวแร้งแช่เป็นหัวแร้งที่นิยมใช้มากที่สุดและราคาไม่แพง ให้ความร้อนคงที่ การเลือกซื้อมาใช้งานควรเลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะสม เช่น ถ้าใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ควรเลือกขนาด 20 ถึง 30 วัตต์ แบบที่มีปลายแหลมเล็ก แต่ถ้านำมาใช้ในการบัดกรีสายสัญญาณหรือสายไฟ ควรเลือกแบบที่มีกำลัง 30 วัตต์ขึ้นไป อาจถึง 60 วัตต์หากสายไฟที่ใช้ใหญ่ และควรเลือกแบบที่มีปลายมนหรือปลายตัด
รูปที่ 2 หัวแร้งแช่
3. หัวแร้งแช่แบบปรับกำลังไฟฟ้าได้ (รูปที่ 3) หัวแร้งแบบนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ปกติ แต่เพิ่มสวิตช์ขึ้นมาอีก 1 ตัว เมื่อกดสวิตช์จะเป็นการปรับกำลังไฟฟ้าของหัวแร้งเพิ่มขึ้น เช่น จากเดิม 20 วัตต์เพิ่มเป็น 120 วัตต์หรืออาจถึง 200 วัตต์ในบางรุ่น ช่วยให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งบัดกรีขาอุปกรณ์และบัดกรีสายไฟ โดยไม่ต้องซื้อหัวแร้งหลายตัว การกดสวิตช์เพื่อเพิ่มกำลังวัตต์ไม่ควรกดสวิตช์นานเกิน 30 วินาที เพราะอาจจะทำให้ขดลวดความร้อนภายในหัวแร้งเสียหายได้
รูปที่ 3 หัวแร้งแช่แบบปรับกำลังไฟฟ้าได้

นอกจากนี้ยังมีหัวแร้งแบบที่สามารถปรับหรือเลือกอุณหภูมิที่ต้องการให้คงที่ได้ ปัจจัยอีกประการหนึ่งสำหรับการเลือกซื้อหัวแร้งในปัจจุบันนี้คือ ควรเลือกซื้อหัวแร้งที่มีปลาย (tip) เข้าได้กับข้อกำหนดของ ROHS ซึ่งจะมีการพิมพ์ข้อความไว้ที่กล่องของหัวแร้งว่า Pb-free tip เป็นต้น และควรใช้หัวแร้งแบบนี้กับลวดบัดกรีแบบไม่มีส่วนผสมของตะกั่ว (lead-free solder)
รูปที่ 4 แสดงฉลากที่ใช้แจ้งว่า ปลายหัวแร้งของหัวแร้งตัวนี้ผลิตขึ้นให้เข้ากันได้กับข้อกำหนดของ ROHS แนะนำให้ใช้ กับลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่ว (lead-free solder)

รู้จักกับลวดบัดกรี หรือตะกั่วบัดกรี

ลวด​บัดกรี​เป็น​คำ​ที่​ถูก​นำมาใช้​ใหม่​แทน​คำ​ว่า​ตะกั่ว​บัดกรี ในอดีต​ลวด​บัดกรี​จะ​ประกอบด้วย​ตะกั่ว​ผสม​กับ​ดีบุก จึง​เรียก​ลวด​บัดกรี​นี้​ว่า ตะกั่ว​บัดกรี (solder lead) แต่ใน​ปัจจุบัน​มี​การ​รณรงค์​และ​บังคับ​ให้​เลิกใช้​ตะกั่ว​เป็น​ส่วนผสม​ใน​การ​ผลิต​ลวด​บัดกรี โดย​หันมา​ใช้​ดีบุก, เงิน, ​บิสมัธ, ทองแดง, อินเดียม และ​สังกะสี​มา​ผลิต​เป็น​ลวด​บัดกรี​แทน

รูปที่ 5 ตัวอย่างของลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่ว
สำหรับลวดบัดกรีที่เหมาะสำหรับการบัดกรีในงานอิเล็กทรอนิกส์คือ ลวดบัดกรีที่มีส่วนผสมของดีบุกและโลหะอื่นในอัตรา 90% : 10% ขึ้นไป ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ เงิน โดยมีอัตราส่วนผสมดีบุก 97% และเงิน 3% เพื่อทำให้ได้โลหะผสมที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ และช่วยให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันก่อนที่จะเสียหายเนื่องจากความร้อนจากการบัดกรี
ข้อเสียของการใช้ลวดบัดกรีที่ไม่มีส่วนผสมของตะกั่วคือ จุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 185 องศาเป็น 220 องศา ดังนั้นหัวแร้งที่ใช้จะต้องมีกำลังวัตต์เพิ่มขึ้น รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรพิมพ์จะต้องสามารถทนความร้อนได้มากขึ้นด้วย
นอกจากนั้นภายในตะกั่วบัดกรีมีน้ำยาประสานหรือฟลักซ์ (flux) สอดอยู่ ฟลักซ์จะช่วยให้ตะกั่วสามารถติดยึดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรพิมพ์ได้ง่ายขึ้น
ขนาดของลวดบัดกรีมีการผลิตออกมาหลายขนาด ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 และ 1.2 มิลลิเมตร  นอกจากนั้นยังมีลวดบัดกรีที่ผลิตมาในรูปแบบเป็นแท่ง สำหรับใช้อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากใช้การบัดกรีแบบคลื่น (wave soldering) ซึ่งต้องมีการใช้งานอ่างบัดกรีที่มีลวดบัดกรีหลอมละลายอยู่เป็นจำนวนมาก

ที่วางหัวแร้ง

      แสดง​ใน​รูป​ที่ 6 สำหรับ​เครื่องมือ​นี้​ถ้าหาก​พอ​มี​งบ​เหลือ​ควร​จัดหา​มา​ใช้ สนนราคา​มี​ตั้งแต่​ไม่​กี่​สิบ​บาท​จนถึง​หลัก​หลาย​ร้อย แบบ​ดี​หน่อย​จะ​มี​ฟองน้ำ​สำหรับ​เช็ด​ปลาย​หัวแร้ง​แถม​มา​ให้​ด้วย สามารถ​หา​ซื้อ​ได้​จาก​ร้าน​จำหน่าย​อุปกรณ์​อิเล็กทรอนิกส์ ร้าน​เดียว​กับ​ที่​มี​ขาย​หัวแร้ง​นั่น​ละ​ครับ หรือ​ถ้า​อยาก​ประหยัด​หน่อย หาก​มา​ที่​บ้าน​หม้อ​ได้ ตาม​ร้าน​ขาย​เครื่องมือ​ข้างทาง​ก็​มี​ที่​หัวแร้ง​จำหน่าย​ใน​ราคา​สุด​ย่อม​เยาว์​ให้​เลือก​อย่าง​เต็มที่
รูปที่ 6 ตัวอย่างของที่วางหัวแร้ง

ลงมือบัดกรีกันเลย

      เริ่มต้น​ด้วย​การ​เตรียม​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​พร้อม​สำหรับ​การ​บัดกรี​ติดตั้ง​อุปกรณ์ รวมถึง​เครื่องมือ​พื้นฐาน​และ​อุปกรณ์​ทั้งหมด​ที่​ใช้ใน​การ​บัดกรี ขั้นตอน​การ​บัดกรี​มี​ดังนี้
(1) เสียบหัวแร้งขนาด 25 ถึง 30 วัตต์ เข้ากับไฟบ้าน (แต่ถ้าหากใช้กับลวดบัดกรีแบบไม่มีตะกั่วผสม แนะนำให้ใช้ขนาด 40 ถึง 65 วัตต์ หรือใช้แบบที่มีปุ่มปรับกำลังไฟสูง) รอประมาณ 5 นาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งมีความร้อนพอเหมาะสำหรับการบัดกรี โดยให้นำหัวแร้งเสียบไว้กับที่วางหัวแร้งเพื่อเตรียมพร้อมรอการใช้งาน
(2) เสียบขาอุปกรณ์เข้ากับแผ่นวงจรพิมพ์ โดยถ้า เป็นตัวต้านทานต้องทำการดัดขาให้พอดีกับจุดบัดกรี และงอขากลับเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้ตัวต้านทานหลุดออกจากแผ่นวงจรพิมพ์
รูปที่ 7A (เสียบอุปกรณ์)
รูป​ที่ 7B (ถ่าง​ขา​อุปกรณ์​ออก​เล็กน้อย)
(3) นำ​หัวแร้ง​แตะ​ไว้​ที่​ขา​ของ​อุปกรณ์​ประมาณ 2 – 3 วินาที
รูปที่ 7C (ให้ความร้อน)



(4) นำ​ลวด​บัดกรี​มา​จี้​ที่​ขา​ของ​ตัว​ต้านทาน​จะเห็นลวดบัดกรีเริ่ม​หลอมละลาย​เพื่อ​เชื่อม​ขา​อุปกรณ์​และ​จุด​บัดกรี​เข้า​ด้วยกัน สังเกต​จุด​บัดกรี​จะ​เกิด​ความ​เงา​งาม มี​ลักษณะ​คล้าย​รูปทรง​กรวย





เทคนิคการบัดกรี

(1) การ​ใช้​ลวด​บัดกรี​ที่​มาก​เกินไป ทำให้​จุด​บัดกรี​เป็น​ตุ้ม​กลม​เป็นผล​ทำให้​โลหะ​บัดกรี​ลัดวงจร​กับ​จุด​บัดกรี​ตำแหน่ง​อื่นๆ
(2) การใช้ลวดบัดกรีน้อยเกินไป หรือการให้ความร้อนจากหัวแร้งน้อยเกินไป จะทำให้ตะกั่วไม่ติดกับขาอุปกรณ์หรือจุดบัดกรี ทำให้การนำไฟฟ้าทำได้ไม่ดีหรือไม่นำไฟฟ้า


ที่มา:https://makers.in.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น