วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สาระน่ารู้ เรื่องหัวแร้ง


ชนิดของหัวแร้ง



         ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต่างๆ นักประดิษฐ์ทุกคนคงยากที่จะปฏิเสธเครื่องมือที่จะมาช่วยสร้างสรรค์งานได้ สารพัดนึกตัวนี้ เพราะบางคนก็ใช้มันอย่างถูกวัตถุประสงค์ และบางคนก็ใช้มันในการเจาะสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองให้เป็นรู
แม้กระทั่ง ใช้มันให้ความร้อนในการวาดลายผ้าก็ยังมี ในเมื่อคุณประโยชน์ของมัน ชั่งเอนกอนันต์เสียขนาดนี้ เราจะไม่ทำความรู้จักกันหน่อยหรือครับ
หัวแร้งที่ ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ หลายขนาด ตามการใช้งานของแต่ละคน แต่โดยส่วนมากแล้ว หัวแร้งที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบหัวแร้งแช่ 
หัวแร้งแช่ (Soldering iron)

Soldering-Iron

          หัวแร้งแบบ นี้ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ทั้งนักประดิษฐ์หน้าใหม่และหน้าเก๊าเก่า ก็ต้องมีติดบ้านไว้ ซึ่งขนาดของหัวแร้งแช่นี้ ถูกแบ่งตามกำลังวัตต์ ซึ่งหากมีกำลังวัตต์ต่ำ ความร้อนก็ต่ำ แต่หากมีกำลังวัตต์สูงความร้อนก็จะสูงตาม
นอกจากนั้นในหัวแร้งแช่รุ่นใหม่ๆ ยังมีปุ่มเร่งความร้อนให้สูงขึ้นแบบทันทีทันใดอีกด้วย
ข้อดี : ใช้งานง่ายมีกำลังวัตต์ให้เลือกซื้อมาใช้งานตามความต้องการ มีอะไหล่ขายอยู่ทั่วไปทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ข้อเสีย : หากจ่ายไฟเลี้ยงหรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้ปลายของหัวแร้งเสียหายได้ เมื่อจะนำไปใช้งานต้องรอให้ความร้อนถึงจุดใช้งานก่อน
หัวแร้งปืน (Soldering gun)
Soldering-Gun

         สาเหตุที่ มันถูกเรียกว่าหัวแร้งปืนนั้น ก็เป็นเพราะรูปลักษณ์ของมันที่มีด้ามจับเหมือนปืน และมีปุ่มเร่งความร้อนเหมือนไกปืนอีกด้วย ด้วยลักษณะพิเศษที่มีปุ่มเร่งความร้อนนี้เอง จึงเป็นที่ชื่นชอบของพวกชอบความรวดเร็วกดปุ๊บ ร้อนปั๊บ
การทำงานของหัวแร้งปืนนั้น จะเหมือนกับหัวแร้งแช่ แตกต่างกันตรงขดลวดความร้อนภายในจะมีอยู่ 2 ขด โดยจะมีขดลวดความร้อนต่ำ และขดลวดความร้อนสูงการใช้งานขึ้นอยู่กับปุ่มเร่งความร้อนที่มีลักษณะเหมือน ไกปืน ถ้าไม่มีการกดปุ่มนี้จะเป็นการใช้ขดลวดความร้อนต่ำ แต่เมื่อมีการกดปุ่มเร่งความร้อน จะเป็นการเปลี่ยนให้ขดลวดความร้อนสูงทำงานแทน ทำให้ความร้อนสูงได้รวดเร็ว (หัวแร้ง ปืนในที่นี้ไม่ได้หมายรวมถึงหัวแร้งปืนแบบเก่าที่เร่งความร้อนด้วยขดลวดความ ร้อน เนื่องจากไม่เหมาะสำหรับใช้งานกับการบัดกรีเชื่อมต่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก)
ข้อดี : ใช้งานสะดวก มีปุ่มเร่งความร้อนทำให้สามารถบัดกรีในจุดที่ต้องการใช้ความร้อนสูงได้
ข้อเสีย : ถ้ามีการกดปุ่มเร่งความร้อนเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้ด้ามจับเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งจะมีผลต่อขดลวดความร้อนด้วย
หมายเหตุ : หัวแร้งปืนในอดีตเป็นหัวแร้งที่ให้ความร้อนจากขดลวดทองแดงใช้กำลังไฟฟ้าสูงหลัก 100 วัตต์ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะกินไฟมากประกอบกับอุปกรณ์และลายทองแดงในสมัยนี้มีขนาดเล็กลง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้งานเพราะจะทำให้อุปกรณ์และลายทองแดงเสียหาย และมีราคาแพงกว่าหัวแร้งแช่ที่มีปุ่มเร่งความร้อน
หัวแร้งแก๊ส (Portable gas soldering)
Portable gas soldering
         เป็น หัวแร้งที่สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์ เพราะมันไม่ต้องอาศัยพลังงานจาก ไฟฟ้าเพื่อสร้างความร้อน แต่จะใชแก๊สแทนไฟฟ้า โดยส่วนมาก หัวแร้งแก๊สจะให้ความร้อนได้สูงสุดประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส หรื 2,400 อา ศาฟาเรนไฮต์ สามารถปรับความร้อนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เราต้องการ โดยการใช้งานจะมีลักษณะเดียวกับเตาแก๊สในครัวของเรานั่นเองที่มีวาล์วใช้ เปิด ปรับ ปิด ปริมาณแก๊สครับ โดยหัวแร้งแก๊สมี 2 ลักษณะคือ หัวแร้งแก๊สแบบปากกาและแบบปืน
ข้อดี : มีขนาดไม่ใหญ่มาก พกพาง่ายใช้งานสะดวกทุกสถานที่ สามารถใช้งานในลักษณะอื่นที่นอกจากการบัดกรีก็ได้
ข้อเสีย : การ ใช้หัวแร้งแก๊สนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังพิเศษ และต้องเก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะกระป๋องแก๊สสำหรับบรรจุแก๊ส
หัวแร้งที่ นำมาแนะนำนี้ยังไม่ครบทุกแบบที่มีการผลิตกันออกมาหรอกนะครับ แต่นำมาเสนอเฉพาะ หัวแร้งที่เหมาะกับงานประดิษฐ์สำหรับบุคคลทั่วไปเท่านั้นครับ

ที่มา: http://www.inventor.in.th

เครื่องทําน้ำอุ่น พร้อมวิธีติดตั้งด้วยตัวเอง

เครื่องทําน้ำอุ่น พร้อมวิธีติดตั้งด้วยตัวเอง

เครื่องทําน้ำอุ่น พร้อมวิธีติดตั้งด้วยตัวเอง


         เครื่องทําน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหนึ่งชิ้นสำคัญที่แทบทุกบ้านต้องติดตั้งเอาไว้ เพราะน้ำเย็น ๆ ที่ส่งผ่านฝักบัวมาในยามเช้าหรือกลางดึก คงทำให้การอาบน้ำของทุกวันเป็นเรื่องยากลำบากน่าดู ดังนั้นตัวช่วยที่ดีก็คงหนีไม่พ้นเครื่องทำน้ำอุ่น ยิ่งในช่วงหน้าหนาวหากขาดเครื่องทําน้ําอุ่นไป ก็คงหนาวสั่นจนพาลไม่อยากอาบน้ำกันเลยทีเดียว



          แต่สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องทำน้ำอุ่น หรือยังไม่ทราบวิธีติดตั้งเครื่องทําน้ำอุ่น วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องทำน้ำอุ่น พร้อมการติดตั้งเครื่องทําน้ำอุ่นมาฝากให้ได้ทำความเข้าใจกันแล้วจ้า ลองไปดูพร้อมกันเลย

เครื่องทําน้ำอุ่น คืออะไร

          เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานคู่กับฝักบัวหรือก๊อกน้ำ โดยจะเป็นตัวกลางเปลี่ยนน้ำให้มีความร้อนขึ้นด้วยฮีตเตอร์ และปล่อยกระแสน้ำออกมา เพื่อให้น้ำเย็น ๆ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นน้ำอุ่นในระหว่างใช้งาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องทำน้ำอุ่นแบบจุดเดียว ติดตั้งตรงไหนก็ทำน้ำอุ่นแค่ตรงนั้น กับ เครื่องทำน้ำอุ่นแบบหลายจุด ที่สามารถทำน้ำอุ่นได้ในหลายจุดพร้อมกัน แต่จะสิ้นเปลืองมากกว่า


 ประโยชน์ของเครื่องทําน้ำอุ่น
          ช่วยให้อาบน้ำได้ง่ายขึ้นในวันที่อากาศเย็น หรือน้ำเย็นจนเกินไป
         ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
         ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
         ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
         ช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้สิ่งสกปรกที่อุดตันหลุดออกได้ง่ายขึ้น


ราคาเครื่องทําน้ำอุ่น
          เครื่องทำน้ำอุ่นในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปรุ่นและคุณสมบัติพิเศษ โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,500–8,000 บาท ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับกำลังไฟฟ้า โดยมีตั้งแต่ 1,000 วัตต์ขึ้นไป

วิธีติดตั้งเครื่องทําน้ำอุ่น
          ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเครื่องทำน้ำอุ่นส่วนใหญ่จะมีบริการติดตั้งให้ถึงบ้าน แต่สำหรับคนที่ซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นมาในราคาประหยัด หรือซื้อจากร้านที่ไม่มีบริการติดตั้ง เราก็มีวิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นมาฝากให้สามารถทำได้ด้วยตัวเองมาบอกกันค่ะ ลองทำตามนี้ได้เลย



           1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น โดยควรให้เครื่องทำน้ำอุ่นอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.6 เมตร หรืออาจสูงกว่านั้นได้นิดหน่อยตามความสูงของผู้ใช้งาน จากนั้นใช้สว่านแบบกระแทกเจาะลงไปบนผนัง เพื่อฝังพุกสำหรับยึดเครื่องทำน้ำอุ่น
           2.  เดินสายไฟจากสายหลัก มายังห้องน้ำ เพื่อเตรียมตัวต่อเข้ากับเครื่องทำน้ำอุ่น
           3.  เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งเบรกเกอร์บริเวณหน้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจทำอันตรายได้
          4.  หากในบ้านมีระบบสายดิน ให้ต่อสายดินเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย เพื่อป้องกันไฟดูด
           5.  หากในบ้านไม่มีระบบสายดิน ให้ต่อสายดินเครื่องทำน้ำอุ่น โดยเสียบสายดินเข้ากับจุดต่อที่เครื่องทำน้ำอุ่น จากนั้นลากสายออกไปต่อลงดิน โดยใช้แท่งทองแดงทำเป็นหลักดิน โดยต้องปักให้ลึกอย่างน้อย 1.5 เมตร 
         6.  ต่อสายไฟน้ำอุ่นตามคู่มือเครื่องทำ
          7.  ปิดวาล์วน้ำและต่อฝักบัวเข้ากับเครื่องทำน้ำอุ่นในบริเวณท่อปล่อยน้ำ
          8.  ลองทดสอบการใช้งานและการรั่วซึมต่าง ๆ อีกครั้ง ก็เสร็จเรียบร้อย




ที่มา:https://home.kapook.com